พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 แก้ไขและเพิ่มเติมจาก พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 ชาวเน็ตอย่างเราต้องรู้มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาให้ข้อมูล พรบ.ฉบับนี้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 64 ระบุไว้ว่า
“บุคคลจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดในทางอาญาไม่ได้ ......”
จากบทบัญญัตินี้ ทำให้เราต้องหันมาดู พรบ.คอมฯ ปี 2560 ว่ามีข้อห้าม ที่เราชาวโซเชี่ยล ทั้งหลาย ต้องรู้กันบ้าง เพื่อช่วยพวกพี่ๆ ตำรวจไซเบอร์ ไม่ต้องทำงานหนัก และพี่ๆ น้องๆ ไม่ต้องไปเสียเงินค่าปรับ หรือนอนค้างอ้างแรมในซังเต ด้วยความไม่รู้ มีอะไรกันบ้างเราไปดูกัน
1. การฝากร้านใน Facebook หรือ IG มีความผิด โดนปรับ 200,000 บาท
2. การส่ง sms โฆษณา โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม และต้องให้ผู้รับ sms ปฏิเสธได้ มิฉะนั้น โดนปรับไม่เกิน 200,000 บาท
3. การส่งอีเมล์ขายของ มีความผิด โดนปรับไม่เกิน 200,000 บาท
4. ห้ามกด Like เรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงต่อการเข้าข่ายความผิด ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ ที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย
7. แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ลงในโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
ถึงแม้ พรบ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ที่ออกมา ได้เข้ามาควบคุมการใช้งาน โซเชี่ยลมีเดีย ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทุกคนสามารถแสดงความเห็นส่วนตัวสู่สาธารณะได้มากกว่าสมัยก่อน แต่ถ้าเราใช้สื่อออนไลน์อย่างเคารพซึ่งสิทธิของกันและกัน ผมเชื่ออย่างนึงว่า แม้ไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุม ความสวยงามของสังคมออนไลน์จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน....
ที่มา
www.marketingoops.com
Comments