โลกของเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง และกระแสที่มาแรงตอนนี้ คงจะไม่พูดถึงไม่ได้ นั่นก็คือเทคโนโลยี Blockchain หลายๆคนคงได้ยินคำนี้บ่อยๆในช่วงนี้ เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่หลายๆบริษัททั่วโลกได้นำเทคโนโลยี Blockchain มามีส่วนในการพัฒนาระบบการทำงาน และการให้บริการ วันนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักว่าเจ้า Blockchain นั่นคืออะไร และจะเข้ามาเกี่ยวข้องในโลกธุรกิจในด้านไหนบ้างค่ะ
Blockchain คืออะไร ?
Blockchain (บล็อกเชน) เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่ความปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถือ ซึ่ง Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังสกุลเงินดิจิทัล bitcoin ซึ่งใช้ในการรับส่งข้อมูล และซื้อ ขาย โอนเงินสกุลดิจิทัลนี้ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง
Blockchain ช่วยให้การจัดเก็บข้อมูลสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และไม่ต้องอาศัยตัวกลาง (Decentralized)
Blockchain มีคุณสมบัติที่น่าสนใจคือสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ไม่อาศัยตัวกลางในการจัดเก็บข้อมูล (Decentralized) ทุกคนในระบบจะถือข้อมูลชุดเดียวกันหมด และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกัน อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ระบบความปลอดภัยของ Blockchainนั้น ถือเป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน Blockchain เป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อนมากๆ หากจะแก้ไขข้อมูลจะต้องย้อนไปแก้ไขข้อมูลหลายชุดมากๆ และรหัสโค๊ดข้อมูล หรือที่เรียกว่า Hash ก็จะเปลี่ยน ทำให้ข้อมูลชุดนั้นถูกปฏิเสธ (Error) จึงเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแก้ไขข้อมูลใน Blockchainค่ะ
การทำงานของ Blockchain
Blockchain ถ้าแปลตรงๆก็คือ "ห่วงโซ่ของข้อมูล" เนื่องจากการจัดเก็บข้อมูลของ Blockchain มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นทอดๆ เหมือนโซ่ ( Chain) โดยข้อมูลจะถูกจัดเก็บเป็นชุดๆ มาเรียงต่อกัน กลายเป็น Blockchain นั่นเอง ข้อมูล 1 ชุดจะถูกจัดเก็บใน 1 บล็อก โดยใน 1 บล็อก จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. Data : ข้อมูลที่ต้องการเก็บบันทึก เช่น ข้อมูลการรับส่งเงิน
2. Hash : หรือค่าที่ได้จากการเข้ารหัส เปรียบสเมือนรอยนิ้วมือ ซึงHash จะถูกคำนวณขึ้นพร้อมกับบล็อก ถ้าข้อมูลในบล็อกเปลี่ยน Hashก็จะเปลี่ยนไปด้วย
3. Hash of Previous block : Hash ของบล็อกก่อนหน้านี้ เมื่อมีข้อมูลชุดใหม่ข้อมูลนี้ก็จะถูกเก็บไปยังบล็อกใหม่ ซึ่งแต่ละบล็อกจะถูกเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ด้วย Hash ที่ตรงกันตามลำดับ จนกลายเป็นห่วงโซ่นั่นเองค่ะ
ความเป็นไปได้ในการ นำBlockchain มาประยุกต์ใช้
โดยปกติเมื่อเราต้องการทำธุรกรรมทางการเงินเราจะต้องอาศัยตัวกลาง(Centralized) อย่างเช่น ธนาคารในการดำเนินการ หรือหากต้องซื้อ - ขาย ที่ดิน เราจะต้องติดต่อกับกรมที่ดิน และข้อมูลของเราก็จะถูกเก็บไว้ที่หน่วยงานที่เป็นตัวกลาง ซึ่งข้อมูลของเราอาจจะถูกเปลี่ยนแปลง หรือถูกแฮ็กค์ได้ตลอดเวลา อย่างกรณีข่าวที่ประชาชนฝากเงินไว้กับธนาคาร แต่บัญชีได้ถูกทำการถอนโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ ในส่วนนี้เราจะเห็นว่าระบบของธนาคารยังมีช่องโหว่ให้มิชฉาชีพ หรือพนักงานเข้าไปแก้ไขข้อมูลได้อย่างง่ายดาย แต่หากเรานำ Blockchain มาใช้การแก้ไขข้อมูลที่ยาก และซับซ้อน จะทำให้บัญชีผู้ใช้งานมีความปลอดภัยมากขึ้น และยังสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้
อีกกรณีที่ Blockchian จะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นเรื่องที่ง่าย สะดวก และปลอดภัยมากขึ้นคือ การทำธุรกรรมโอนเงินข้ามประเทศ ปกติเมื่อเราต้องการโอนเงินไปยังต่างประเทศ เราจะต้องทำธุรกรรมทางการเงินผ่านคนกลาง นั่นก็คือธนาคาร และเราต้องเสียค่าธรรมเนียมที่อาจจะมากถึง10 เปอร์เซ็น ของจำนวนเงินที่เราทำการโอน และใช้เวลา 3-4 วันกระบวนการโอนเงินจึงจะสำเร็จ แต่หากเราใช้เทคโนโลยี Blockchain การโอนเงินข้ามประเทศจะง่ายขึ้น เพราะข้อมูลการโอนเงินภายในระบบ Blockchain จะถูกส่งไปยังปลายทางและเสร็จสิ้นภายในไม่กี่นาที โดยที่เราไม่ต้องรอนานถึง3-4วัน และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงหลายเท่า
ในต่างประเทศทั้ง อเมริกา ยุโรป เกาหลีใต้ จีน และสิงค์โปร์ เริ่มมีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ในภาคธุรกิจ ส่วนในประเทศไทยก็เริ่มมีหลายๆองค์กรณ์ให้ความสนใจและนำไปประยุกต์ใช้แล้วเหมือนกัน คาดว่าเราจะได้เห็นรูปแบบการให้บริการที่นำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้อีกไม่นานค่ะ
Comments